เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 12. ปริตตติกะ 7. ปัญหาวาร
[60] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ
โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรคและผลโดยอธิปติปัจจัย
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณา
นิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภูและโวทานโดย
อธิปติปัจจัย
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-
รูปโดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น
อัปปมาณะโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่
เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)

อนันตรปัจจัย
[61] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย
อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
ปริตตะซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ
อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน ฯลฯ อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นปริตตะโดย
อนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอนันตรปัจจัย
ได้แก่ จุติจิตที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็นมหัคคตะโดยอนันตรปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :438 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 12. ปริตตติกะ 7. ปัญหาวาร
ขันธ์ที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นมหัคคตะโดยอนันตรปัจจัย บริกรรม-
ปฐมฌาน ฯลฯ บริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ บริกรรมทิพพจักขุ ฯลฯ
บริกรรมอนาคตังสญาณเป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณโดยอนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยอนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค ฯลฯ โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค ฯลฯ
อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (3)
[62] สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดย
อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
มหัคคตะซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอนันตรปัจจัย
ได้แก่ จุติจิตที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็นปริตตะโดยอนันตรปัจจัย
ภวังคจิตที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิตโดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่เป็น
มหัคคตะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นปริตตะโดยอนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยอนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ เนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติของท่านผู้ออกจาก
นิโรธโดยอนันตรปัจจัย (3)
[63] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ
โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่
เป็นอัปปมาณะซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล ฯลฯ ผล
เป็นปัจจัยแก่ผลโดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นปริตตะโดยอนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นมหัคคตะโดยอนันตรปัจจัย (3)
(สมนันตรปัจจัยเหมือนกับอนันตรปัจจัย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :439 }